สาระน่ารู้

                                                                                                        

  มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 รอบระยะเวลาบัญชี

เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการSMEs รายใหม่

            สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของโลก และของประเทศไทยในปัจจุบันอยู่ในช่วง ซบเซา รัฐบาลจึงต้องหานโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเจริญเติบ ทางเศรษฐกิจของประเทศหลายแนวทาง ซึ่งหนึ่งในนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวของประเทศ คือ นโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม(SMEs) ซึงเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่น่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างควา เข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรวม      

         หนึ่งในมาตรการที่รัฐบาลนามาส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ คือ มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล5 รอบระยะเวลาบัญชี (รายละเอียดตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 602) พ.ศ.2559)


                        บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขดังต่อไปนี้

        1) จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

       2) มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี   ไม่เกิน 30 ล้านบาท

       3) มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการของกิจการที่ประกอบ อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือรายได้เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดในรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

      4) ยื่นคำร้องขอ และได้รับอนุมัติจากอธิบดี (สามารถยื่นคำร้องต่อกรมสรรพากร ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2560)

      5) ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมลงทุน

      6) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

     7) กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ กลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐาน  ในกระบวนการผลิต และการให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด และได้รับการรับรองจากสำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้แก่
        -  อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร
        -  อุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด
        -  อุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ
        -  อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
        -  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
        -  อุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า
        -  อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ
        -  อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
        -  อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ
        - อุตสาหกรรมฐานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรืออุตสาหกรรมใหม่

 

ดูภาพ infographic จากกรมสรรพากร